Solid Liqui ปลุกคลื่นโพสต์พังก์โนเวฟให้ตื่นขึ้นในแผ่นดินใหญ่

1.1K views

คุยกับ Solid Liqui อีกหนึ่งวงดนตรีจากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนที่จะมาเล่นในงาน Asia Sound Space: Space Gekco ในวันที่ 16 มีนาคมนี้ ณ Brownstone โดยก่อนหน้านี้เราได้แนะนำ Dizang ไปแล้วใน COSMOS Discovery และยังมีเจ้าบ้านอย่าง Lepyutin, La Nuit และ Hope the Flowers ที่การันตีฝีไม้ลายมือหาตัวจับยาก กับหลากสไตล์ดนตรีที่เฉพาะตัวสุด ๆ ทุกวง

Solid Liqui พวกเขาเป็นวงสามชิ้นที่เล่นดนตรีแนวโพสต์พังก์ โนเวฟ และสารพัดนอยซ์ที่จะทำให้เราหน้าสั่นไปกับความมันจากพวกเขา แต่ก่อนอื่นขอชวนไปไปทำความรู้จักกับพวกเขากัน

Solid Liqui

สมาชิก
Yun Zhang (กลอง)
Amelia Wang (เบส)
Chu Sun (กีตาร์/ร้องนำ)

Chu: พวกเราค่อนข้างชอบแนวดนตรีเดียวกันตั้งแต่ตอนที่ได้เริ่มทำวงขึ้นมาแล้วก็อยากไปให้สุด ๆ เพราะแนวเพลงเราค่อนข้างเคลียร์ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เลยไม่ได้ไปลองทำแนวเพลงอื่น ๆ มากนัก ส่วนตัวผมตั้งใจทำให้ผลงานออกมาในแบบที่ดีสุด

Amelia: ทุกครั้งที่เราแจมดนตรีหรือเขียนอะไรใหม่ ๆ มันก็จะออกมาในรูปแบบนี้ เรียกได้ว่ามันเป็นธรรมชาติของเราสามคนอยู่แล้ว ส่วนดนตรีที่พวกเราสามคนชื่นชอบก่อนมาเจอกันก็คงมีส่วนทำให้เกิดเป็นสไตล์ในปัจจุบันด้วย 

Yun: เราเจอกันตอนช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2016 ค่ะ ตอนนั้นฉันเพิ่งเรียนจบแล้วก็ได้งานทำที่เซี่ยงไฮ้ เจอกับ Amelia ในงานดนตรีนอยซ์ ส่วน Chu เป็นเพื่อนของเพื่อน ครั้งแรกที่มาแจมกันก่อนเริ่มวงก็รู้สึกได้เลยว่าเราสามคนมีแนวดนตรีใกล้เคียงกันมาก 

Chu: ผมเริ่มเขียนเพลงส่วนให้เพื่อนฟังแล้วเพื่อนก็แนะนำให้รู้จักกับมือกลอง ซึ่งก็คือ Yun นั่นเอง

Amelia: ส่วนฉันก็มารู้จัก Chu ผ่าน Yun ทีหลังค่ะ

Solid Liqui

Yun: World music ถ้าหมายถึงพวกดนตรีพื้นบ้าน ฉันอยากที่จะใส่ดนตรีแนวอุปรากรพื้นบ้านและเครื่องประกอบจังหวะจำพวกระฆัง กระดิ่ง หรือกระพรวนเพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึกในการสื่อสารผ่านเพลงที่ดียิ่งขึ้นค่ะ

Chu: ผมชอบ world music นะ เพราะส่วนตัวเป็นคนชอบโฟล์กกับศิลปะโบราณอยู่แล้ว จริง ๆ เพลงโฟล์กกับอุปรากรพื้นบ้านในบ้านเกิดของผมที่ซีอานก็ค่อนข้างดังในเรื่องฉินเฉียง และส่งผลค่อนข้างมากในการเขียนเพลงของพวกเรา มันเป็นการขยายในส่วนเมโลดี้ของสเกลเพนทาโทนิก และ world music ก็มีส่วนที่ใกล้เคียงกันค่อนข้างเยอะ ยกตัวอย่างได้ไม่หมดเพราะมันเยอะมาก แต่เอาเป็นว่านี่เป็นสิ่งที่พวกเราสามคนชอบมากครับ 

Amelia: เราพยายามนำเอเลเมนต์ในตัวของเพลงจีนพื้นบ้านในที่ ๆ พวกเราจากมา ไม่เพียงแค่ริธึม คอร์ด เมโลดี้ แต่รวมไปถึงสำเนียงท้องถิ่นในจังหวัดต่าง ๆ ใส่ลงไปในเพลงค่ะ

Yun: อัลบั้มนี้เป็นผลงานฉบับเต็มชิ้นแรกของพวกเรา จริง ๆ แล้วคอนเซ็ปต์ของมันคือเพื่อจัดระเบียบด้วยวิธีที่คิดมาดีแล้วด้วยการนำเสนอที่อาจจะดูล้นหรือประหลาดเหมือนกับที่ Arnold Schoenberg ทำในตอนแรก

Chu: พวกเราต้องการที่จะนำเสนอในสิ่งที่พวกเรารู้สึกก่อนที่จะเริ่มเขียนเพลงในอัลบั้มนี้ มันเลยเข้ากับคอนเซ็ปต์ของความลวงตา (mirages) ซึ่งเป็นไปได้ทั้งสิ่งที่ดีและร้าย อาจจะเป็นทั้งมายาคติหรือเป็นของจริง แต่สุดทายแล้วสิ่งที่คุณสัมผัสได้นั่นแหละคือชีวิตจริง

Amelia: ฉันคิดว่าอัลบั้มนี้เปรียบเสมือนการจดบันทึกสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากกระบวนการทำดนตรีและแสดงออกมาในรูปแบบของเพลง ชื่อจีนของอัลบั้มนี้คือ ‘无浪击石’ แปลตรงตัวคือ ‘ไม่มีคลื่นในทะเลซัดก้อนหิน’ เป็นสุภาษิตจีนที่หมายความว่า ‘แม้ดูเหมือนไม่มีคลื่นในทะเลแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีอันตราย อาจจะมีคลื่นใต้น้ำก็เป็นได้’ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ซึ่งเพลงของเราก็ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ การสร้างสรรค์ทางดนตรีอย่างเปิดกว้างไม่มีลิมิต ออกนอกกรอบเหตุผลทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าท่อนดนตรีถัด ๆ ไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง จะเปลี่ยนไปแบบไหน 

Yun: คิดว่าอุปสรรคในการทำเพลงมาจากชีวิตส่วนตัวมากกว่าเรื่องการเซ็นเซอร์จากรัฐบาลค่ะ พวกเรามีงานประจำทุกคนทำให้กระบวนการคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายเพราะต้องใช้เวลาจำนวนมากในการคิด และชีวิตส่วนตัวก็สำคัญเช่นกันค่ะ 

Chu: คิดเหมือนกับ Yun ครับ ขาดเรื่องเวลาในการทำเพลง ตอนนี้ผมก็กำลังคิดถึงความเป็นไปได้ในการออกมาเป็นนักดนตรีเต็มตัว

Amelia: เห็นด้วยกับทุกคนค่ะ เนื้อร้อง การแบนจากรัฐบาลไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่เป็นเรื่องการมีเวลาให้มันมากกว่าสำหรับวงของพวกเรา

Yun: ส่วนใหญ่มาจาก Chu ค่ะ เขาเป็นนักแต่งที่ค่อนข้างเจ๋งคนนึงเลยทีเดียว หรือเรียกว่ากวีเลยก็ได้

Amelia: Chu เป็นคนที่มีหลากหลายมุมมองในแง่ของการใช้ชีวิต เวลาที่เขาเขียนเนื้อเพลงหรือร่างเพลงขึ้นมา พวกเราก็ใช้มันเป็นพื้นฐานในการแต่งเพลงค่ะ 

Chu: จริง ๆ แล้วเนื้อเพลงในอัลบั้มนี้เกี่ยวกับตัวผมเอง เกี่ยวกับการทลายกำแพงภาพมายาและสิ่งที่คาดหวัง แล้วเผชิญกับความเป็นจริง ความหยิ่งผยอง ความรัก และความเกลียดชังต่อบ้านเกิดของผม แล้วก็รวมไปถึงด้านที่เจ็บปวดในชีวิตครับ 

Yun: ใช้ค่ะ พวกเราก็ใช้ทุกแพลตฟอร์มในการหาข้อมูลหากเราต้องการ แต่จริง ๆ แล้วสำหรับฉันแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงมาจากชีวิตจริง ไม่ค่อยได้เอามาจากในโซเชียลมีเดียเท่าไหร่ 

Chu: ไม่ค่อยได้ใช้อินเทอร์เน็ตครับ ส่วนใหญ่ไอเดียทำเพลงก็มาจากชีวิตจริง เน้นย้ำว่าการมีสุขภาพที่ดีจะยิ่งช่วยในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ครับ หากเหนื่อยเกิน สุขภาพแย่ สมองคิดไรไม่ได้ออก มันก็ไม่ได้

Amelia: ส่วนหนึ่งเลยก็เอาไว้ดูว่านักดนตรีคนอื่นเค้าทำอะไรบ้าง วงการเพลงไปถึงไหน อย่างที่สองก็คือการเก็บเกี่ยวเนื้อหาประสบการณ์ดนตรีใหม่ ๆ ซึมซับไปในความรู้สึก แล้วก็อาจจะออกมาเป็นไอเดียใหม่ ๆ ของวงค่ะ ตอนที่พวกเราทำเพลงฉันอยากจะให้มันเป็นการรวมกันของส่วนนึงที่ออกมาจากข้างในตัวเรา อย่างชีวิตส่วนตัว และส่วนนึงที่มาจากปัจจัยอื่น ๆ ข้างนอก 

Yun: ฉันคิดว่าวงการดนตรีใต้ดินในจีนมีโอกาสโตมาก ๆ นะคะ ดนตรีใต้ดินที่นี่มีหลากหลายรูปแบบมาก ๆ บางครั้งก็มาจากความขัดแย้งในวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่และเก่า ในมุมมองส่วนตัวคิดว่าจีนเป็นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ๆ จนอาจทำให้ใครหลาย ๆ คนรู้สึกอึดอัด ปรับตัวไม่ทัน หรือสับสน แต่นี่ก็เป็นอีกสิ่งนึงที่ช่วยให้นักดนตรีใต้ดินสามารถแสดงออกจากอารมณ์ของตนได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น 

Chu: ผมเห็นว่าวงการดนตรีใต้ดินที่นี่กำลังพัฒนาไปเรื่อย ๆ นะ มีนักดนตรีต่างชาติอยู่ที่จีนค่อนข้างเยอะ อย่างเช่นสมาชิกของวง Dizang ซึ่งความหลากหลายนี้ก็ช่วยเพิ่มบรรยากาศใหม่ ๆ ให้กับวงการดนตรี

Amelia: หากเราคิดว่าดนตรีคือการแสดงออกของบุคคลหรือกลุ่มคน ดนตรีก็มีส่วนโดยตรงโดยการโตไปกับเทรนด์ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้ก็โฟกัสและกล้าแสดงออกทางความคิดของตนมากขึ้นไม่เหมือนเมื่อก่อน มันก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการที่วงอินดี้เริ่มผุดขึ้นมาเรื่อย ๆ แบบไม่ขาดสาย และการที่มีคนหลายคนเริ่มผลิตงานหลายหลากออกมาก็เป็นส่วนช่วยในการให้ผู้ฟังบางกลุ่มเริ่มคิดในการทำดนตรี และกลายเป็นนักดนตรีอีกด้วย

Yun: คำแนะนำคือ ให้รออัลบั้มถัดไปนะคะ (หัวเราะ) ทางเรากำลังทำอยู่และจะเป็นแนวที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นค่ะ

Chu: จริง ๆ แล้วมันก็มีหลากหลายวิธีในการสื่อสารด้วยดนตรีนะครับ อย่างเช่นในอัลบั้มนี้ของเราผมสื่อสารเนื้อความออกไปด้วยการใช้เทคนิคซับซ้อนต่าง ๆ หลายอัน และก็เข้าใจว่าบางอย่างมันอาจจะเข้าถึงได้ยาก ในอัลบั้มถัดไปผมจะลองวิธีสื่อสารใหม่ ๆ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะฟังง่ายขึ้นรึเปล่านะ

Amelia: สิ่งที่คนฟังผ่านสตรีมมิงกับในงานคอนเสิร์ตจะไม่เหมือนกันค่ะ ต่างกันค่อนข้างมาก อยากให้ทุกคนมาลองสัมผัสไลฟ์ของวงและอาจจะได้มุมมองใหม่ ๆ ต่อเพลงกลับไปค่ะ แล้วก็ปีหน้าเราจะปล่อยอัลบั้มใหม่ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่เหมือนเดิม ดีกว่า และน่าจะเข้าถึงง่ายขึ้นค่ะ!

Yun: มีหลายวงมากนะ รวมถึง Dizang ด้วยค่ะ! ไหน ๆ ก็จะมาทัวร์ด้วยกันแล้ว

Chu:  ชอบ Dizang ครับ

Amelia: ไม่ควรพลาด Dizang ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการค่ะ

Yun: มีไอเดียใหม่ ๆ มาให้ทดลองเล่นและปรึกษาระหว่างสมาชิกวงสม่ำเสมอค่ะ 

Chu: หากมีเพลงใหม่มาเรื่อย ๆ ผมก็แฮปปี้ตลอดครับ (หัวเราะ)

Amelia: ลองผิดถูกไปเรื่อย ๆ ค่ะ ทั้งเครื่องดนตรีใหม่ ๆ ไอเดียเพลงใหม่ ๆ 

Yun: จริง ๆ เราไม่ใช่วงที่ฟังยากหรือ niche ขนาดนั้นค่ะ แต่ก็หวังว่าจะเป็นการเปิดประสบการณ์ทางดนตรีใหม่ ๆ ให้กับทุกคนได้ 

Chu: เรามาจากต่างประเทศและเพลงของเราอาจหาฟังไม่ได้ในอินเทอร์เน็ตครับ ไลฟ์เท่านั้น 

Amelia: พวกคุณอาจมีภาพจำ หรือ stereotype บางอย่างต่อวงจีน แต่เราจะทำลายภาพลักษณ์ใด ๆ ก็ตามที่คุณคิดไว้ค่ะ แล้วเจอกันนะคะ!

แล้วพบกับพวกเขา รวมถึง Dizang ได้ในตารางทัวร์ด้านล่างนี้ สะดวกที่ไหนไปที่นั่นเลย
14 Mar – Speakerbox (BKK)
15 Mar – Light my fire (Nakhon Pathom)
16 Mar – Space Gecko at Brownstone (BKK) 

อ่านต่อ
COSMOS Discovery: 地藏Dizang 🇨🇳

Kavin Chalermrungroj
+ posts
+ posts

อิ๊ก นักเขียนสายดนตรีที่เกือบจะต้องวางมือ แต่คงหนีไม่พ้นเพราะยังอยากพูดถึงวงและเพลงดี ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ

Related Articles

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy