Island Futurism ผู้บุกเบิกแนวดนตรี afrobeat และท้าทายซีนดนตรีไต้หวันด้วยกรูฟที่แตกต่าง

by McKee
1.5K views
Island Futurism AIslanders Patri-Ark taiwan beats

Island Futurism วงไต้หวันอีกหนึ่งวงที่กำลังมาแรงสุด ๆ ในนาทีนี้ การที่บอกว่าเขาคือผู้บุกเบิกแนวดนตรี afrobeat ในไต้หวันอาจจะยังไม่น่าตื่นเต้นพอ แต่ด้วยสมาชิกในวงกว่า 12 ชีวิตที่ใช้เครื่องดนตรีกว่า 10 ชนิด กับการแสดงสดที่ต้องสะกดให้คนเต้นกระจายทุกงาน

ด้วยสไตล์ดนตรีที่ผสมกันระหว่าง jazz, funk, psychedelic ไปจนถึง dub/reggae และหยิบนำดนตรีพื้นบ้านของไต้หวันมาผสมด้วย และการเลือกทำเพลง instrumental เพื่อหลีกเลี่ยงคำร้องที่น่าเบื่อ และใช้เล่าเรื่องนามธรรมและใช้ปกอัลบั้มในการตีความแต่ละแทร็ก

DJ ผู้ก่อตั้งวงเล่าให้เราฟังอย่างละเอียดถึงที่มาของว่า ซึ่งเขาตัดสินใจออกจากวง Hang In The Air ด้วยเหตุผลส่วนตัว แต่ก็ทิ้งดนตรีไม่ได้จริง ๆ จนต้องตั้งวงใหม่

Island Futurism ในงาน LUCfest 2022

“ผมเคยคิดเล่น ๆ ว่าตอนอายุ 20s ผมทำเพลงพังก์ พออายุ 30 ผมได้เจอกับเร็กเกและดั๊บ ตอนนี้ผมอายุ 40 แล้ว ยังมีแนวเพลงอะไรที่วงใหม่ของผมจะลุยกันต่อไป ด้วยความที่ Hang In The Air มีสำเนียงความฟังก์ที่ลงตัวอยู่แล้ว ซึ่งผมเคยสนุกกับมันมาก ก็รู้สึกว่าถึงเวลาที่จะลองแจ๊สแล้วรึเปล่าด้วยอายุตอนนี้ด้วย ทำให้ผมเริ่มสนใจ afrobeat”

ซึ่งไอดอลของเขาคือ Fela Kuti ที่เคยฟังและเคยไปดูโชว์ของเขา ซึ่งน่าประทับใจมากโดยเฉพาะแดนเซอร์ที่นำโดยภรรยาของเขา หรือ Tony Allen ที่เคยออกแผ่นในไต้หวัน เขาจึงทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปกับการฟังและศึกษาแนวเพลงนี้ จนได้พบกับ “afrofuturism” แต่การฟอร์มวง Island Futurism เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก

ในไต้หวันก็ไม่เคยมีแนวเพลงแบบนี้มาก่อน นอกจากนี้ แนวเพลง afrobeat ยังต้องประกอบด้วยสมาชิกในวงจำนวนมาก และการค้นหานักดนตรีที่เหมาะสมกับแต่ละตำแหน่งก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความพยายามสุด ๆ เขาจึงเริ่มมองหาจากเพื่อน ๆ ก่อนเลย ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากวงเก่าของเขาอย่าง Taiwan Ska Revival และ Hang in the Air

แต่ก็มีสมาชิกอีกหลายคนหมือนกันที่เขาชักชวนมาจากวงเพื่อน ๆ ทั้ง Sailor, SLEAZE และ Scattered Purgatory หรือหลายคนก็เป็นคนในวงการดนตรีที่ DJ เคยเจอระหว่างล้มลุกคุกคลานอยู่ในซีนดนตรีไต้หวัน แต่การได้สมาชิกมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่ได้ทำให้การซ้อมง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นแนวดนตรีที่ทุกคนไม่คุ้นเคย การต้องปรับจูนและทำการบ้านกับเครื่องดนตรีของตัวเองก็สำคัญไม่แพ้กัน

หลังจากซ้อมและทดลองกันอยู่หลายปี วงก็มีงานเดบิวครั้งแรกตอนปี 2018 แต่ก็เป็นการแจมกันสด ๆ มากกว่า และวงก็ทำไม่ได้ดีขนาดนั้น จนพวกเขาเริ่มเขียนเพลงของตัวเองและสมาชิกก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จนวงแข็งแรงขึ้น แถมยังได้ไปเล่นงานเทศกาลดนตรี 禾火OUT 音樂節(Chill Out Festival)เลยทีเดียว

หลังจากซ้อมสลับกับเล่นตามงานชวนมาตลอด ช่วงปี 2020 เลยกลายเป็นช่วงที่ค่อนข้างน่าเบื่อเพราะงานส่วนใหญ่ต้องยกเลิกเนื่องจากโรคระบาด DJ รู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะปล่อยอัลบั้มเต็มซักที ซึ่งจะทำให้วงเปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วย พวกเขาจึงเดินทางไปอัดเพลงกันที่ The Cave ระหว่างนั้นเราก็เริ่มซ้อมอย่างเข้มข้น สร้างความเป็นแบนด์ระหว่างแจมด้วยกัน และไม่มีช่องว่างให้ความผิดพลาดเด็ดขาดเพราะเขาต้องอัดหกเพลงภายในสองวันให้ได้ ถึงจะเหนื่อยแต่มันก็เติมเต็มอะไรบ้างอย่างในตัว DJ ได้อย่างเหลือเชื่อ

สุดท้าย ความทุ่มเทของพวกเขาก็สัมฤทธิ์ผลและดีกว่าที่คิดไปมาก ซึ่งช่วงมิกซ์กันยังได้ศิลปินอย่าง Sonic Deadhorse มาช่วยดูแลให้ สุดท้ายก็กลายเป็นอัลบั้ม ‘AIslanders’ ที่บันทึกการเดินทางตลอด 2 ปีของสมาชิกทั้ง 12 คนเอาไว้

ชื่ออัลบั้มมาจากการผสมของคำว่า AI กับคำว่า Islanders เพื่อสื่อถึงโลกอนาคตที่คนบนเกาะแห่งหนึ่งโอบรับเทคโนโลยีล้ำสมัยเอาไว้ และใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ บนเกาะแห่งนี้คงมีสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตที่ไม่มีใครจินตนาการออกมาก่อน ดังนั้นเราจึงพยายามอธิบายโลกที่เราเห็นออกมาผ่านเสียงดนตรีให้ได้ เรารับรู้ถึงการมีอยู่ของ AI และมันน่าจะสร้างคุณูปการให้กับโลกได้มากมายเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งเราก็มีสิ่งที่เรียกว่า “Digital Authoritarianism” แบบประเทศจีนที่นำ AI มาใช้ในทางที่ทำลายมนุษย์ ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่เรากำลังพูดถึงใน Island Futurism

แต่ปีนี้ พวกเขาปล่อยอัลบั้มที่สองออกมาในชื่อว่า ‘Patri-Ark’ ซึ่งคอนเซปต์ของมันใช้ตำนานโบราณของไต้หวันยุคสร้างอารยธรรม ที่เล่าว่ามีหินยักษ์ตกลงมาจากฟ้า ทำให้เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นจุดแบ่งแยกระหว่างโลกในตำนานเล่าขานกับโลกในปัจจุบัน แม้จะลดความเป็น sci-fi ลงไปแต่ปกก็ยังมีกลิ่นของความเป็นไซคีเหมือนเดิม

นอกจากการสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับเทพพระเจ้าในบางแทร็กแล้ว อีกหลายแทร็กก็แทรกจังหวะดนตรีพื้นบ้านไต้หวันเอาไว้ด้วย อย่างในเพลง Spring Around ที่ให้กลิ่นของงานเฉลิมฉลองเชิงเกษตรกรรม ซึ่งถ้าฟังดี ๆ ก็แอบคล้ายบ้านเราเหมือนกัน หรือ Water-Moon Ascending to the Tower ที่ฉีกไปทางดนตรีพื้นบ้านแอฟริกาเลย แถมเพลงนี้ยังใช้ระบบ 8 โน๊ต ที่เป็นคีย์ดนตรีของคนในภูมิภาคเอเชียเท่านั้นด้วย

ด้วยซาวด์ที่แตกต่าง และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันมาก ๆ Island Futurism ไม่ใช่แค่สื่อสารกับคนไต้หวันด้วยกันเอง แต่ยังทำงานกับทุกคนในเอเชียอีกด้วย คำว่าดนตรีคือภาษาสากลก็อาจจะไม่เกินจริงนัก ถ้าทุกคนฟังเพลงของเขาแล้วยังอยากเต้นกันให้สุด อีกหนึ่งวงเจ๋ง ๆ จากไต้หวันที่ทีม The COSMOS อยากให้ทุกคนรู้จัก

ติดตามพวกเขาได้ที่ Facebook และ Instagram

+ posts

ชอบไปคอนเสิร์ตเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ และยังชอบแนะนำวงดนตรีใหม่ ๆ ผ่านตัวอักษรตลอดเวลา

Related Articles

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy