ทำไมเพลง ‘เธอยัง’ ถึงเป็น “เพลงชาติไทย” ที่คนสิงคโปร์ร้องได้ชัดขนาดนี้!?

by Widthawat Intrasungkha
2.8K views
เธอยัง Tur Young Potato สิงคโปร์ Siam Diu Motifs

ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เราไถ Tiktok ไปเรื่อย จนมาเจอคอนเทนต์ที่คนสิงค์โปร์ถ่ายตัวเองร้องเพลง “เธอยัง” ของวง Potato จากงาน 555 Music Festival ที่จัดขึ้นที่ RWS Convention Center (จัดเมื่อวันที่ 3 มค 2567) แบบชัดถ้อยชัดคำ เก็บทุกเม็ด เรียกได้ว่า ประทับใจที่สามารถร้องเพลงภาษาไทยได้จนเราถึงกับอึ้งว่า เพลงไทยไปดังที่ดินแดนเมอร์ไลออนได้อย่างไร ซึ่งก็ไม่ใช่เราคนเดียวที่สงสัยกับสิ่งนี้และก็มีหลายคอมเม้นท์ที่ถามถึงสาเหตุว่าทำไมเพลงนี้ถึงเป็น “Thai National Anthem of Singapore” จนไปสะดุดกับคำ ๆ นึงว่า “Siam Diu” จึงเกิดความสงสัยมากขึ้นไปกว่าเดิมว่ามันคืออะไร ?

@l3nnerdlimofficial

You can’t imagine how impactful this song is in Singapore. I sang it too many times, finally is time to hear it for the first time LIVE!!! @potatoband @Resorts World Sentosa #turyang #potato #turyung #555thaifestival #singapore #thailand #thailen #thaimusic

♬ original sound – Lennerd 林健輝 แล็น – Lennerd 林健輝 แล็น
ต้นตอจุดเริ่มต้นของความสงสัย

จากการค้นหาใน Google พบว่า “Siam Diu” หรือชาวสิงคโปร์เรียกอีกชื่อนึงก็คือ “Thai Disco” คือ สถานบันเทิงสำหรับปาร์ตี้โดยมีการเสิร์ฟแอลกอฮอล์ มีดีเจ มีดนตรีสด ไม่ต่างจากบ้านเรา ซึ่งที่นู่นจะเรียกสถานบันเทิงแบบนี้ว่า “Diu” มีบรรยากาศประมานคล้าย ๆ กับแหล่งท่องเที่ยวชาวแทร่ขี้เหงามักจะไปกัน และมักจะมีสาวบริการ ซึ่งเขาเรียกว่า Siam Bu คอยนั่งดื่มเป็นเพื่อนคลายเหงา ขั้นด้วยการขึ้นโชว์แสดงร้องเพลงบนเวที และมีการขายดอกไม้ให้ลูกค้าเพื่อที่จะไปห้อยสาว ๆ คนที่ได้ดอกไม้ก็จะได้รับค่า commission ส่วนแบ่งจากการขายตรงนั้น แต่อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่าสาวเหล่านี้ขายบริการทางเพศเพราะผิดกฏหมายประเทศสิงคโปร์ สถานบันเทิงแบบนี้ได้รับความนิยมมาก ๆ ในสิงคโปร์อีก เพราะการวิธีการเอนเตอร์เทนของร้านและบรรยากาศที่คึกครื้นเต็มไปด้วยการเล่นเกมแข่งกินเหล้าและดนตรีสด โดยมีวลีฮิต Siam Diu for life, Siam Bu for wife จึงทำให้เราเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า สิ่งนี้มันคืออารายยยยย

เมื่อขุดอินเตอร์เนตเข้าไปลึกขึ้น ก็พบบทความที่น่าสนใจว่าพนักงานสถานบันเทิง (Siam Bu) เหล่านั้นสามารถทำเงินได้ถึง $6,620 หรือประมาณ 238,872 บาทต่อเดือน! (อ้างอิงจาก blog บน seedly.sg) รายได้ตรงนี้เป็นรายได้สูงสุดที่สาวบริการอาจจะได้จาก commission ค่าดริ้ง ค่าดอกไม้ที่แขกซื้อให้ (อยู่ที่ $50 ต่อดอก) แต่ยังมี basic salary อยู่ที่ประมาน $2,000 – $3,500 ต่อเดือน​ แลกกับการทำงาน 26 วันต่อเดือน สาวบริการเหล่านี้ไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องไปกับลูกค้าหลังปิดร้าน (Siam Bus are not obligated to go with the customers) แต่คิดว่าเป็นที่รู้กันว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ หน้าที่หลัก ๆ ของ Siam Bu คือการเอนเตอเทนลูกค้า ไม่ว่าจะชายหรือหญิง และ draw out as much money as they can จากลูกค้า จากการรีเสิร์ชเพิ่มเติม พบว่าผู้ที่มาทำงานเป็น Siam Bu มักจะมีความจำเป็นต้องใช้เงิน อาจจะมีปัญหาทางการเงิน หรือ ไม่ก็ต้องทำเพื่อเลี้ยงดูทางบ้าน ซึ่งก็นับเป็นเรื่องที่ honorable ในมุมของการดูแลครอบครัว แต่ก็มักจะพบปัญหาสังคมที่ตามมา อย่างการโดนลูกค้าตามมารังควานจนมักจะมีการเวียนไปทำงานร้านอื่นเพื่อหนีลูกค้า หรือแค่เพื่อไม่ให้ลูกค้าเดิมเบื่อตัวเอง ซึ่งก็นับเป็น tactic การตลาดชนิดนึง หรือ เรื่องการติด Siam Bu งอมแงมจนความสัมพันธ์ของฝั่งชายร้าวฉานเพราะคิดถึงแต่สาว ๆ Siam Bu จนเป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเป็นปัญหาสังคมขนาดไหน (เหมือนโดนมนต์ดำให้รักให้หลง) แต่ในมุมมองของ Siam Bu หน้าที่ของเขาคือ การชักชวนลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการและ up sale สินค้า ดึงเงินออกจากกระเป๋าลูกค้ามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการชวนให้ดื่มเยอะขึ้น ให้ลูกค้าสั่งเครื่องดื่มให้ หรือ ออดอ้อนขอดอกไม้ที่เหมือนการซื้อใจเพื่อให้สาว ๆ มานั่งดื่มด้วยเป็นการตอบแทนสินน้ำใจของลูกค้า โดยรายได้ของสาวบริการจะเน้นไปที่ค่า commission ของแต่ละคืนซึ่งอาจจะมีการแบ่งรายได้กันระหว่างร้านและพนักงานแต่ละคนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับข้อตกลง

ปูพื้นฐานกันมาพอประมาณแล้ว จากการค้นคว้าเพิ่มเติมและสอบถามเพื่อนชาวสิงคโปร์ พบว่าเพลงไทยไม่ได้เป็นที่นิยมในสิงคโปร์ถึงขั้นเป็น mainstream เหมือนเพลงฝรั่งหรือเกาหลี แต่ก็เป็น sub culture ในความชอบเพลงไทยที่พบเจอได้ เนื่องจากประเทศนี้เป็นสังคมหลายเชื้อชาติ (multicultural society) เพลงไทยในสิงคโปร์ก็ไม่แตกต่างจากกลุ่มคนฟังเพลงภาษาอื่น ๆ ในบ้านเราที่อาจจะไม่ได้มากจนเป็นกระแสหลัก อย่างเช่น เพลงเวียดนามหรือจีนซึ่งอาจไม่ได้มีตลาดที่ใหญ่แต่ก็มีกลุ่มแฟนเพลงที่ชอบ อะไรประมานนั้น เราค้นพบว่า สถานบันเทิงประเภท Thai Disco เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งใน nightlife culture ที่ก็ไม่ได้แตกต่างจากผับบาร์ต่าง ๆ ในบ้านเราที่เน้นเล่นเพลงสนุกเพลงแมส ซี่งสถานบันเทิงแบบ Siam Diu ก็จะมีทั้งการแสดงและดนตรีสดที่เล่นเพลงยอดฮิตเหมือนร้านเหล้าทั่ว ๆ ไปในบ้านเรา เพลง เธอยัง แม้จะผ่านมา 13 ปีแล้วแต่ก็เป็นเพลงที่ชาวสิงคโปร์ส่วนหนึ่งสามารถร้องได้อย่างชัดถ้อยชัดคำ เพราะทำนองเพลงที่ติดหูแล้วก็มีเนื้อหาที่กินใจ ซึ่งเราพบว่ามีคนสิงคโปร์ร้อง cover เพลง เธอยัง ได้อย่างเนียนกริ๊บ แม้กระทั่ง meme ต่าง ๆ ใน TikTok ก็ยังมีการ refer ถึงเพลงนี้อีกด้วย เราจึงได้ทำการพูดคุยกับ Els และ JJ จากวง MOTIFS ซึ่งแชร์กับเราว่า “เพลง เธอยัง ก็เหมือนกับ Wonderwall ที่ทุกคนรู้ว่าร้องยังไง แต่จำไม่ได้ว่าดังเพราะอะไร?”

Motifs จากสิงคโปร์ (Els นักร้องนำหญิงหน้าสุด / JJ มือกีต้าหลังสุด)

JJ: เพลง เธอยัง เป็นเหมือนตัวแทนของเพลงไทย (“THE Song”) ที่ติดหูมากจนเราสามารถจำเมโลดี้ของเพลงได้ แม้เพลงจะผ่านมานานมากแล้ว เพลงนี้มักจะโผ่ลมาใน Top 40 Playlist ของ Siam Diu

Els: Siam Diu จะมีวงดนตรีสดที่เล่นเพลงฮิต Top 40 โดย เธอยัง ก็มักจะเป็นเพลงที่ถูกเล่นในสถานที่แบบนั้น ที่ Siam Diu จะมี Playlist Top 40 ของตัวเอง ซึ่งเหมาะกับแนวทางของร้านและ demographic ของคนที่ไป คล้าย ๆ กับการที่เราเปิดผับ Shoegaze เพลงที่เปิดหรือเล่นก็คงจะหนีไม่พ้น Slowdive, My Bloody Valentine อะไรประมานนี้ เพราะมันคือเพลง top 40 ของแนวทางนี้

พี่สาวของเราได้ยินเพลงนี้ เพราะเราคุยเรื่อง Siam Diu กันมา และเธอก็พึ่งได้ฟังเพลง เธอยัง แล้วก็พูดขึ้นมาว่า เข้าใจแล้วทำไมถึงดังเพราะเนื้อหาของเพลงนี่เอง มิน่าเหล่า Ah Beng ถึงชอบ เพราะ คิดถึง Ah Lian (Fun Fact: Ah Beng คือ เด็กแว้น Ah Lian คือ สก้อย ของสิงคโปร์)

Els: คำตอบคือ ใช่

JJ: มันเหมือน Wonderwall ของเพลงไทย นึกออกไหม ที่คนส่วนใหญ่จะร้องได้

Els: ถ้าถามใครว่า เพลง wonderwall กลายเป็นแบบทุกวันได้ยังไง ก็คงไม่มีใครตอบได้ ไม่มีใครรู้

JJ: ผมคิดว่า เพลงนี้ติดหู และร้องตามได้

Els: จนกลายเป็น meme song (หัวเราะ)

The COSMOS: ในประเทศไทย เรามีสถานที่ที่คล้าย ๆ กับ Siam Diu ฟีลแบบ Hostess Club ต่าง ๆ ก็จะมีประเภทที่ high class ซึ่งมีกำลังทรัพย์สามารถจ้างศิลปินชั้นนำ อย่าง โปเตโต้ ไปทำการแสดงได้ เลยอยากรู้ว่า Siam Diu ที่สิงคโปร์ มีการจ้างศิลปินไปเล่นในร้านบ้างไหม?

JJ: ไม่มี ส่วนใหญ่จะมี live cover bands ซึ่งมักจะเป็นวงท้องถิ่น (resident band) ทำการแสดง ยังไม่เคยเห็นมีการจ้างวงต่างประเทศมาเล่น หรือ แม้กระทั่งศิลปินสิงคโปร์เอง เพราะว่า demographic ของคนที่ไปเที่ยว ก็แตกต่างเช่นกัน

ซึ่ง JJ ก็สงสัยขึ้นมาว่า ที่ไทยพอมีศิลปินไปแสดงที่แบบนี้แล้ว function การเป็น hostess ยังมีอยู่ไหม หรือว่าเป็น music venue ไปเลย? ซึ่งเราก็ได้สารภาพว่า เรายังไม่เคยไปงานแบบนี้ แต่คิดว่ามันก็เป็นเหมือนช่วงเวลาในการโชว์ในแต่ละคืนที่หลังศิลปินลงเวที ทุกอย่างก็กลับมาเหมือนเดิม ตัวศิลปินก็ treat สิ่งนี้เหมือนงานโชว์ปกติที่ร้านเหล้าทั่วไป
JJ: คิดว่าเราไม่เคยมีแบบนี้มาก่อนในสิงคโปร์

Els: เราคิดว่า ซีนดนตรีในสิงคโปร์แตกต่างจากที่ไทยมาก ๆ อย่างในไทยจะมีวงที่ดังมาก ๆ ที่ทุกคนรู้จัก อย่างโปเตโต้ แต่ว่าในสิงคโปร์จะมีการแบ่งแยกค่อนข้างชัดเจนระหว่าง เพลงจากศิลปินสิงคโปร์แท้ ๆ (local Singaporean music) กับ เพลงป๊อบมาตรฐานโลก (standard pop music) แม้ศิลปินสิงคโปร์แท้ ๆ ที่ดังที่สุดก็ยังไม่ดังเท่ากับโปเตโต้ในไทย แบบเขาไม่มีทางที่จะดังเท่า Ed Sheran ในสิงคโปร์ คือ ไม่มีเพลงจากศิลปินสิงค์โปร์ที่ดังจนทุกคนร้องได้เหมือนเพลงชาติ

@octagonsg

Have fun with Thai Songs Club DD @ Bugis Point Address: 530 North Bridge Road 05-01 Bugis Point Singapore 188747 Rsvp: 88006777 #siamdiuforlifesiambuforwife #siamdiuforlife #siamdiusg #siambulife #siamdiu #thaidiscosg #thaidiscosingapore

♬ original sound – clubddsg – Octagon SG

The COSMOS: ผับบาร์ที่สิงคโปร์ ไม่เล่นเพลงของศิลปินสิงคโปร์เลยหรอ?

Els: ไม่เลย เราคิดว่าที่นี่ยังต้องใช้เวลาอีกยาวนานในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าของดนตรีของศิลปินในท้องที่ เพลงสิงคโปร์อินดี้ก็นับเป็นซีนนึงใช่มั้ย แม้กระทั่งเพลงสิงคโปร์ป๊อบเมนสตรีมก็นับเป็นอีกซีนนึงที่แม้อาจจะมีศิลปินที่ได้รายได้จากยอด streaming สูง แต่การที่จะจัดงานโชว์ครั้งนึงก็ยังยากที่จะมีกำไร เลยคิดว่า ซีนดนตรีในสิงคโปร์ยังต้องผ่านหนทางอีกยาวไกล เพราะมันมีความอับอายของชาวสิงคโปร์เองว่า ถ้าอะไรที่เป็นของชาติตัวเองจะไม่ดีเท่าของที่มาจากนอกประเทศ

JJ: อีกการเปรียบนึงที่อยากจะเล่าให้ฟัง ศิลปินสิงคโปร์ อย่าง JJ Lin หรือ Stepanie Sun ที่ร้องภาษาจีนแมนดารีนที่ดังมากในทั้งสิงคโปร์และต่างประเทศ ก็ยังไม่ถูกจดจำในฐานะศิลปินสิงคโปร์ แต่คนจะจำเขาในฐานะศิลปินที่ทำเพลงแมนโดป๊อบ (Mando-Pop)

Els: พวกเขาเริ่มดังขึ้นเมื่อเขาย้ายฐานไปทำเพลงนอกประเทศ และคนสิงคโปร์เองก็พึ่งได้รับรู้ว่าศิลปินเหล่านี้ดังเมื่อเขาได้ย้ายออกไปแล้ว เพราะว่าชาวสิงคโปร์ไม่สนับสนุนซีนเพลงของตัวเองเลย และเมื่อศิลปินคนนึงตัดสินใจที่จะย้ายไปทำเพลงที่ต่างประเทศ เช่น ย้ายไปต่อยอดตัวเองในการทำเพลงแมนโดป๊อบที่ไต้หวัน หลังจากนั้นชาวสิงคโปร์ก็จะพึ่งรู้สึกว่าศิลปินนั้นได้ก้าวสู่ความประสบความสำเร็จ เพราะเขาเห็นว่าการที่ศิลปินนั้นสามารถออกไปทำอาชีพศิลปินได้ที่ประเทศอื่นเป็นการประสบความสำเร็จอย่างหนึ่ง แต่ถ้ายังติดอยู่ในสิงคโปร์ก็ยังมีความน่าอาย เหมือนเป็น Local Cringe กับทุกสิ่งที่สร้างชาวสิงคโปร์ เหมือนกับว่าอะไรก็ตามที่โดยคนสิงคโปร์จะไม่ดีเท่ากับที่อื่น สมมุติว่า มีคนบอกว่าฟัง Motifs แล้วบอกว่าไม่เหมือนเพลงที่ทำในสิงคโปร์เลย นั่นคือการชมอย่างนึง เขากำลังพูดว่า เพลงของคุณไม่เหมือนเพลงที่ทำโดยคน local ในนี่เลย เพราะว่า ทุกคนมีแนวคิดที่ว่าทุกอย่างที่มาจากต่างประเทศดีกว่าในสิงคโปร์ ความรู้สึกของคนทั่วไปเหมือนมีความละอาย ไม่มีความภาคภูมิใจเลย

JJ: อีกอย่างนึงที่อยากจะพูดถึง คือ ไม่มีเพลงสิงคโปร์ที่ต่างประเทศรู้จัก อย่างเช่น เวลาพูดถึงเพลงไทยที่ดังที่นี่คือ เธอยังของโปเตโต้ หรือ ไอซ์แลนด์เราจะนึกถึง Sigur Ros แต่พอเป็นคนต่างประเทศนึกถึงเพลงสิงคโปร์เขาจะนึกไม่ออก แม้กระทั่ง JJ Lin หรือ Stepanie Sun จริง ๆ แล้วเขายังนับเป็นศิลปินจีน คือ เราไม่มีเพลงสิงคโปร์ที่เป็น meme สำหรับชาวต่างชาติได้เลยไม่เหมือน meme เพลงเธอยัง เรายังไม่มี wonderwall ที่เป็นเพลงสิงคโปร์เลย

Els: สิ่งนึงที่นึกขึ้นมาได้คือ คนไทยคือชาติเดียวที่พูดภาษาไทย แต่ในสิงคโปร์เรามีภาษาจีน ญี่ปุ่น อินเดีย มาเลเชีย แม้ว่าเราวัฒนธรรมเราจะเป็นเอเชีย แต่เราใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพื่อที่จะเข้าใจกันได้ ซึ่งทำให้เราสูญเสียวัฒนธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ บางส่วนไป หลังจากนั้นเราเริ่มที่มองถึงการ colonize วัฒนธรรมของเราให้ทัดเทียมกับฝั่งตะวันตก เลยกลายเป็นว่าเราแทบจะไม่มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง พอเราทำเพลงภาษาอังกฤษมันก็ยากมาก ๆ ที่จะเอาไปเปรียบเทียบกับเพลงอังกฤษฝั่งอเมริกัน แต่ศิลปินไทยร้องเพลงไทยไม่ได้มีตัวเปรียบเทียบและต้องไปแข่งขันกับใคร เพราะเราร้องเป็นภาษาอังกฤษมันเลยกลายเป็นมีคู่แข่งอยู่เต็มไปหมด แม้เราจะร้องภาษาจีนก็ยังต้องไปแข่งกับศิลปินไต้หวัน หรือ จะร้องเป็นภาษามาเลหรือบาฮาซาก็ยังมีศิลปินอินโดกับมาเลเป็นคู่แข่ง และเพราะประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็ก เรามีตลาดที่เล็กและยังมีเรื่อง local cringe อีก

JJ: เสริมจากสิ่งที่ Els พูด ถ้าไปเดินตามท้องถนนแล้วเจอนักดนตรีข้างทางหรือในชาร์ตเพลงฮิต จะไม่มีใครร้องเพลงสิงคโปร์เลย ทั้งหมดจะเป็นเพลงจากประเทศตะวันตกหมดเลย เมื่อเปรียบเพลงกับชาร์ตเพลงฮิตของไทยก็อาจจะมีเพลงฝั่งตะวันตกเป็นหลักแล้วมีเพลงไทยแทรกอยู่บ้าง แต่ Top Chart 40 ที่สิงคโปร์แทบจะเหมือนและแปรผันตาม US Top 40 โดยตรง คือ เราได้รับอิทธิพลมาเต็ม ๆ และแทบไม่มี Local Identity สำหรับเพลงสิงคโปร์

JJ: ค่ายก็ทำหน้าที่นะ เขาก็พยายามผลักดันเข้าคลื่นวิทยุอยู่ แต่มันไม่ได้กลายเป็นสิ่งที่ Iconic ขนาดนั้น อาจจะ trendy ในขณะนั้น ประมานเดือนนึง แต่พอผ่านไปสักพักนึงมันก็ไม่ได้มีความรู้สึกร่วมกับสิ่งนี้ขนาดนั้น

Els: เรารู้สึกว่า เวลาที่ศิลปิน local ของเราติดเข้าไปใน Top 40 Chart ถึงแม้ว่าจะเป็นศิลปินที่เซ็นสัญญากับค่ายใหญ่ ๆ อย่าง Sony หรือ Universal มันให้ความรู้สึกเหมือนกับตอนที่เพลงอินดี้ติดกระแสเมนสตรีม สำหรับเราทุกอย่างที่เป็น local แล้วติดเข้าไปชาร์ตเหล่านี้ได้ก็เป็นความภาคภูมิใจได้อย่างนึง เพราะมันทำให้คนหันมาสนใจคุณ ถึงแม้จะเป็นเพลงป๊อบที่มีโอกาสติดมากอยู่แล้วแต่ทุกคนก็เลือกที่จะฟังเพลงป๊อบจากประเทศอื่น

Els: เราคิดว่ามีคนที่เชื่อในเพลงภายในประเทศ และก็ใส่ใจในการพยายามผลักดันใน eco system นี้อยู่เหมือนกัน เพราะพวกเราก็ได้รับอนิสงค์จากสิ่งนี้อยู่เหมือนกัน เหตุผลที่ Motifs เป็นอย่างทุกวันนี้ได้ก็เพราะจากคนเหล่านี้ที่ช่วยเหลือเรา เราทุกคนต่างมีงานประจำและเล่นดนตรีเป็นงานอดิเรก และมันก็มีโปรโมเตอร์/ผู้จัดที่ก็ทำงานประจำและทำสิ่งเหล่านี้เป็นงานเสริมเพราะเป็น passion ของพวกเขา และก็มีคนทำค่ายที่ก็ทำงานประจำและทำค่ายเพลงควบคู่ไปด้วย ฉะนั้นมันก็มีผู้คนที่มีความเชื่อในสิ่งเหล่านี้มาก ๆ และก็พยายามมาก ๆ ที่จะผลักดันวงการนี้ ไม่ค่อยแน่ใจว่าจุดประสงค์ของพวกเขาคือการผลักดันให้ศิลปินดังขึ้นไหม หรือทำให้เพลงสิงคโปร์กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก แต่สิ่งที่สำคัญคือพวกเราทุกแค่อยากที่จะให้เพลงดี ๆ และถ้าเพลงของเราเดินทางไปนอกประเทศได้ก็นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างนึง มันไม่ใช่ความรู้สึกแบบที่ว่า โอ้ นี่คือเพลงที่มาจากสิงคโปร์นะ เป้าหมายของเราก็แค่อยากทำเพลงให้ออกมาดีที่สุด

Els: สำหรับฝั่งเพลงป๊อบ เราเคยได้คุยคร่าว ๆ กับ Leonard ซาวด์เอนจิเนียร์ของเราและเพื่อนโปรดิวเซอร์บางคน ก็ได้ข่าวมาว่ามีบางคนที่อยากจะทำเพลงสิงค์โปร์ที่โดดเด่น (a standout Singapore song) และดังระเบิดให้ทุกคนรู้ว่านี่คือเพลงที่มาจากสิงคโปร์ และสามารถเปิดตลาดใหม่ให้ศิลปินสิงคโปร์อื่น ๆ ได้ ซึ่งก็เป็นเป้าหมายแบบหนึ่งของโปรดิวเซอร์บางคน แต่สำหรับพวกเรา Motifs ตอนนี้เราแค่อยากทำเพลงอย่างเดียว เราคิดว่าตอนนี้เรายังไม่ได้มองไปอนาคตขนาดนั้น เราไม่ได้ทะเยอทะยานขนาดนั้น และก็เป็นเรื่องที่ดีถ้าเพลงของเราสามารถที่จะออกไปนอกประเทศได้ แต่วงอินดี้ส่วนใหญ่จะยังขาดบางสิ่ง

Els: เทียบกับบางประเทศแล้ว จริง ๆ เรายังได้รับการสนับสนุนจากรัฐอยู่บ้าง แค่มีข้อจำกัดและข้อปฏิบัติอยู่ค่อนข้างมากแต่ก็ได้รับการสนับสนุนนิดหน่อย อย่างเราสามารถขอทุนสำหรับการทำอัลบั้มได้ แลกกับความยุ่งยากระหว่างทางในการกรอกเอกสารต่าง ๆ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ขออนุมัติงบเพื่อทำทุนในการจัดงานเปิดตัวหรือทำอัลบั้ม ฉะนั้นมันยังมีการสนับสนุนจากรัฐอยู่

The COSMOS: ปัจจุบันนี้ในซีนดนตรีประเทศไทย เราผ่านกันมาหลายยุคสมัย พวกเราพยายามที่จะผลักดันให้มันไปข้างหน้า เราเติบโตมาจาก generation ก่อน ๆ ที่สร้างสิ่งซีนนี้ขึ้นมา และเราก็พยายามต่อยอดให้มันไปได้ไกลขึ้น ด้วยการพยายาม educate ผู้ฟัง โดยเฉพาะผู้ฟังหน้าใหม่ ให้พวกเขารู้ว่าเขามีทางเลือกในการฟังเพลง เขาไม่จำเป็นที่จะต้องฟังเพลงตามสิ่งที่สื่อหลักนำเสนอ สำหรับพวกคุณแล้ว คุณเห็นอะไรในซีนดนตรีของสิงคโปร์ ในฐานะเฉพาะการเป็นศิลปินสายชูเกซ ซึ่งเป็นแนวเพลงเฉพาะ (niche genre) คุณอยากทำอะไรในซีนดนตรีนี้?

Els: ฉันคิดว่าสิ่งที่คุณอธิบายมาเกี่ยวกับ แนวคิดที่จะผลักดันวงการไปข้างหน้าเป็นสิ่งที่สิงคโปร์ยังไม่ค่อยมี

Els: ในช่วงนี้ ฉันคิดว่ามีนะ JJ ว่าไง?

JJ: ใช่ ตอนนี้ก็มีวงหน้าใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ แต่เราคิดว่าตอนนี้ในวงการทุกคนแค่พยายามที่จะโตแบบ organic มันยังไม่ได้มีความเร่งด่วนในการผลักดันให้มันกระโดดก้าวหน้า คิดว่าเพราะว่าวงการในตอนนี้ยังรู้สึกว่าตลาดเพลงของเรามันยังเล็กเกินไป และยังไม่สามารถที่จะผลักดันให้มันอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง เรายังคงต้องการการอัดฉีดจากรัฐบาล เพราะว่าเขายังให้งบสำหรับโปรเจ็กต่าง ๆ และแม้กระทั่งสถานที่ต่าง ๆ อย่าง The Esplanade ที่จัดงาน Baybeats อะไรทำนองนั้น ซึ่งรัฐเองก็พยายามที่จะอัดฉีดผลักดันดนตรีภายในประเทศอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าจะให้ซีนดนตรีอยู่ได้ด้วยตัวเองหรืออะไรก็ตามที่ไม่ได้รับงบประมานจากรัฐก็จะอยู่รอดได้ยาก มันยังไม่มีโปรโมเตอร์ livehouse หรืออะไรก็ตามที่สามารถที่จะอยู่รอดได้ด้วยตัวเองขนาดนั้น คุณยังต้องสามารถให้บริการอย่างอื่นได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น การทำห้องซ้อมดนตรี (jamming studio) ก็ยังต้องพ่วงบริการที่เป็น Livehouse ได้ หรือ การทำ Livehouse ที่ก็ต้องสามารถที่สตูดิโอสอนเต้นบัลเล่ คือ ณ ตอนนี้มันยังไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยดนตรีเพียงลำพังยกเว้นว่าคุณประสบความสำเร็จมาก ๆ แต่ก็ยังมีอยู่บ้างที่สามารถทำเพียงอย่างเดียวได้ อย่างเช่น Snakeweed Studio อัดเพลง ของ Leonard ที่เราไปอัดอัลบั้มกัน ซึ่งก็คิดว่ายังมีบางธุรกิจที่อยู่รอดได้ด้วยตัวเอง แต่มันยังไม่ใช่การผลักดันแบบให้ทุกคนรู้จักสิ่งนี้มากขึ้น ทุกคนแค่พยายามที่จะทำมันแบบ oragnic

Els: ฉันคิดว่ามันมีเหตุผลบางอย่าง อย่าคิดว่ามันเป็นเหตุผลที่แท้จริงนะ เพราะมันเป็นการคาดการณ์เฉย มันอาจจะเกี่ยวกับการเติบโตของชาวสิงคโปร์ที่รัฐบาลสอนให้เราพึ่งพารัฐ ไม่ได้ให้คิดด้วยตัวเองและไม่ได้ให้คิดไปในทางใดทางหนึ่ง ด้วยการอนุมัติทุนให้ทำสิ่งต่าง ๆ โดยถ้าไม่มีทุนเหล่านี้คุณก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ เลยทำให้คุณต้องพึ่งพารัฐมาก ๆ และทำให้คุณไม่มีวิธีคิดที่จะพึ่งพาตัวเอง ถ้าหากว่าคุณพยายามที่จะทำอะไรที่แตกต่างและคิดเพื่อตัวเอง คุณอาจจะถูกสั่งให้ปิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งมันเหนื่อยมาก ๆ เลยทำให้คุณเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งเป็นอยู่ อย่างเช่น ปัญหาการเมือง คุณไม่สามารถที่จะทำการประท้วงแม้จะเป็นประท้วงอย่างสงบสันติเพราะรัฐจะหยุดคุณทันที ซึ่งก็มีคนที่พยายามอย่างมากที่จะทำมัน แต่รัฐก็จะรีบเข้ามาหยุดคุณอยู่เรื่อย ๆ แม้กระทั่ง music venue ในสิงคโปร์ที่จัด Baybeats อย่าง The Esplanade ก็เป็นสถานที่ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ และมันก็เป็น venue ที่ได้รับงบมาจากรัฐก็เลยสามารถที่จัดงานเฟสติวัลใหญ่ ๆ อย่างนั้นได้ แต่ถ้ามีการแสดงไหนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมากเกินไป เขาก็จะถูกปิดตัวลงอย่างแน่นอน และการแสดงก็จะโดนแบนในสิงคโปร์ ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์เมื่อนานมาแล้วในสิงคโปร์ เช่น เขาแบนการ moshing แบนการทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมือง คุณไม่สามารถพูดถึงรัฐบาลได้ มันเลยเหมือนกับว่า รัฐบาลพยายามบอกว่า โอเคเราจะช่วยให้คุณทำสิ่งนี้ แต่เงื่อนไขทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรานะ ถ้าคุณพยายามที่จะทำอะไรด้วยตัวเองมันจะกลายเป็นเรื่องยากมาก ๆ ซึ่งเราเห็นได้จากหลาย ๆ ปีก่อนหน้านี้ มันเคยมี independant music venue หลาย ๆ ที่เกิดขึ้นมาและพยายามเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง แต่มันก็ยากมากอยู่แล้วเพราะว่าค่าเช่าที่ก็แพงสุด ๆ ทำให้เขาไม่สามารถเลี้ยงชีพตัวเองได้ ก็เลยทำให้เขาต้องทำงานประจำอื่นไปด้วย แต่พอจัดงานไปได้ 2-3 งาน ก็จะมีคนร้องเรียนว่าคุณเสียงดังเกินไป หรือ มีคนไปสูบบุหรี่ในที่ที่ไม่ควรสูบ หรือ มีการดื่มในเวลาที่ไม่ควรดื่ม (สิงคโปร์ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะในช่วง 22.30น. – 07.30น. ของวันถัดไป) ซึ่งก็ทำให้เขาถูกสั่งปิดทันทีและไม่มีทางออก สิ่งที่คุณลงทุนก็หายวับไป และทุก ๆ งานที่จัดจะต้องทำเรื่องขออนุญาต และต้องผ่านการคัดกรองจากเจ้าหน้าที่ฝั่งสื่อซึ่งเขาก็จะทำการเซนเซอร์ถ้าคุณพูดถึงบางอย่างมากเกิน อย่างเช่น เคยมีศิลปินเกย์ถูกสั่งให้ปรับแก้เนื้อร้องเพราะว่าเกี่ยวข้องกับการสนับสนุน LGBTQ+ และแม้กระทั่งงานที่จัดกันเองโดยไม่ได้ผ่านการสนับสนุนของรัฐ ก็ต้องทำเรื่องขออนุมัติก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้จัด เลยทำให้คุณไม่สามารถพูดถึงอะไรที่ต่อต้านรัฐหรือแม้กระทั่งแสดงออกว่าคุณเป็นเกย์ในงานต่าง ๆ ได้ ซึ่งก็ทำให้ทั้งคนที่พยายามผลักดันและผู้จัดอินดี้ต่าง ๆ แต่ละคนรู้สึกเหนื่อยหน่ายมาก ๆ เลยทำให้พวกเราทุกคนปรับตัวเข้ากับสิ่งนี้และบอกกับตัวเองว่า เราใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศนี้และยังสามารถทำเพลงได้ก็ดีแค่ไหนแล้ว จึงไม่ได้พยายามที่จะเรียกร้องเพิ่มเติมเพราะมันเหนื่อยหน่ายสุด ๆ และก็แอบยอมรับชะตากรรมประมานนึงว่าเราอยู่แค่สิ่งที่เป็นอยู่ก้พอ เลยไม่ได้มีฝันที่ยิ่งใหญ่ ส่วนศิลปินแมนโดป๊อบที่อยากจะดังก็แค่ต้องออกไปดังนอกประเทศแทน

Motifs Live from Snakeweed Studio

JJ: สำหรับเรารู้สึกว่า ในสิงคโปร์มันสะอาดเกินไป เมืองเรามันสะอาดเกินไปจนเราไม่ได้ชื่นชมกับความแตกต่าง เพราะเราถูกเลี้ยงดู ถูกสอนในโรงเรียนในทางที่อยากให้ทุกคนโตมาทำงานธนาคารหรือเป็นทำงานเกี่ยวกับการเงิน การเรียนการสอนก็เลยโฟกัสไปที่คณิตศาสตร์หรือเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสุด ๆ เลยมีพื้นที่น้อยมากสำหรับศิลปะหรืองานครีเอทีฟต่าง ๆ และก็ถูกทำให้เหมือนเป็นเรื่องรองและเป็นวิชาไม่สำคัญ ซึ่งก็เป็นวิธีการทำงานของระบบการศึกษา อย่างเวลาที่มองซ้ายมองขวนบนถนนของลอนดอนหรือเมืองไทยก็จะเห็นกราฟิตี้บนผนังหรือบางทีก็มีนักดนตรีข้างทางหรืออะไรก็ไม่รู้เกิดขึ้น (ผมเรียกสิ่งนี้ว่า random shit la) แต่เวลาที่เดินในเมืองสิงคโปร์ ผมแน่ใจว่าคุณจะรู้สึกว่ามันสะอาด หันไปทางไหนทุกคนก็ทำอะไรที่เหมือน ๆ เดิม คือ เดินไปสักที่ ไม่ได้หยุดทำอะไรที่คุณรู้สึกว่าน่าสนใจ อย่างแค่การที่จะทำการแสดงข้างถนน คุณจะต้องไปออดิชั่นและทำเรื่องขออนุญาตเพื่อจะทำการแสดง

Els: ใช่ แล้วหลังจากได้รับใบอนุญาต คุณไม่สามารถทำการแสดงได้ทุกที่นะ คุณสามารถแสดงได้แค่ในพื้นที่ที่คุณขอไว้เท่านั้น นอกจากนั้นคุณเข้าคุกได้ทันทีถ้าคุณพ่นกำแพงกราฟิตี้ หรือ สามารถโดนสั่งปรับจากการ vape หรือ เขี้ยวหมากฝรั่ง

JJ: มันก็เลยเป็นเมืองที่สะอาดเกินไปที่ประชาชนจะรู้สึกได้ว่ามันมีสิ่งอื่น ๆ ในโลกของ creativity มันเป็นยังไง มันไม่ใช่แค่ในระบบการศึกษาแต่มันเป็นวิธีการดำเนินการของประเทศนี้ แบบ ถ้าเราอยู่บนถนนในนิวยอร์คและเห็นสีสันมากมายหรือสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น สมองของเราก็รู้สึกสนใจสิ่งเหล่านั้น และเปิดรับสิ่งแปลกใหม่ได้มากขึ้น ซึ่งเราไม่ได้รู้สึกแบบนั้นในการใช้ชีวิตอยู่สิงคโปร์ เหมือนทุกอย่างโอเคหมด ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีอะไรเลย แต่เป็นประเทศที่ปลอดภัยมาก ๆ

The COSMOS: เหมือนกับว่ารัฐบาลกำลังควบคุมทุกย่างก้าวของเราเลย

Els: เหมือนเมืองมันไม่มี character เพราะมันปลอดภัยมาก ๆ เหมือนทุกอย่างเป็นสีเขียว เราใช้ชีวิตอยู่ในประเทศโลกที่ 1 แบบที่ฉันสามารถเดินออกไปข้างนอกในตอนกลางคืนตอนนี้แล้วยังรู้สึกปลอดภัย (จริง ๆ แอบกลัวนิดนึง แต่ไม่ได้กลัวขนาดนั้น เพราะมันก็ยังปลอดภัยอยู่) คุณสามารถทิ้งมือถือไว้บนโต๊ะแล้วกลับมามันก็ยังอยู่ที่เดิม

JJ: เกือบจะคล้ายกับการที่เราเดินเข้าไปในห้องสีขาว และมีตัวตนอยู่ในห้องสีขาวนั้น แต่คุณไม่รู้ว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะคุณอยู่แต่ในห้องสีขาวนั้น มันไม่มีแรงบันดาลใจอะไรอื่นเลยนอกจากห้องสีขาว (ฮา) แต่ถ้าอยู่ในห้องมีที่สีสันมาก ๆ มีกราฟิตี้เต็มไปหมด คุณก็ได้รับแรงบันดาลใจบางอย่างจากมัน แต่สิงคโปร์มันเป็น safe template แบบห้องสีขาว

JJ: มันไม่ได้ฆ่าความคิดสร้างสรรค์ของคุณขนาดนั้น แค่มันยากที่จะค้นหาศิลปะเฉยๆ ผมว่าถ้าคุณพยายามก็สามารถหามันจนเจอได้นะ แต่มันต้องพยายามมากๆ อย่างผมกับ Els เราต้องค้นหาด้วยตัวเองทางออนไลน์ เราต้องไปงานแสดงศิลปะต่าง เราต้องไปที่ต่าง ๆ เพื่อที่จะปลูกฝังตัวเองให้เป็นอย่างทุกวันนี้ แต่มันใช้เวลา ใช้โชคนิดนึง และพรมลิขิตนิดหน่อยที่จะได้รู้จักกับคนที่ใช่และพบความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง แต่ถ้ามันอยู่ในพื้นที่สาธารณะ มันคงง่ายกว่ามาก ๆ มากกว่าการที่เราต้องคิดมันให้ออกด้วยตัวเอง

Els: ใช่ มันมีร้านแบบ Siam Diu มากกว่า Live Music Venue ในสิงคโปร์ ถูกต้อง แน่นอน

JJ: ใช่นะ แต่จริง ๆ แล้ว คนที่ไป Siam Diu ก็ไม่ได้ไปเพราะไปฟังเพลงนะ เขาไปเพราะ Siam Bu มากกว่า (ฮา)

Els: เขาไปเพราะประสบการณ์ที่ได้จากร้านแบบนั้นมากกว่า

Els: มีกลุ่ม Telegram (The COSMOS: ต้องเป็นกลุ่ม Telegram เท่านั้นหรอ ไม่มีเพจ Facebook?) ถ้าบน Facebook หรือ Instagram ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพจอย่าง Bandwagon ที่โปรโมต Local gigs แต่สำหรับงานที่ DIY มาก ๆ พวกเขาจะไม่ได้โปรโมตมากขนาดนั้น ฉะนั้นคุณจะต้องอยู่ในกลุ่มเฉพาะทางบน Telegram ที่คนจะคอยอัพเดทว่า เร็ว ๆ นี้จะโชว์อะไรบ้าง

The COSMOS: เป็นเพราะว่าต้องขออนุญาตในการจัดงานใช่ไหม เลยต้องแจ้งข่าวสารผ่าน Telegram แทน

Els: ใช่ แต่งานส่วนใหญ่ที่จะจัดก็จะได้รับการอนุญาตจากทางการแล้ว ส่วนใหญ่จะมี Bandwagon ที่มักจะเขียนบทความถึงงานใหญ่ ๆ แต่อาจจะไม่ค่อยเขียนบทความถึงงานใต้ดินเท่าไหร่

ตัวอย่าง Poster งานที่ Death of Heather ไปทัวร์ที่สิงคโปร์

JJ: คงเพราะว่า Telegram ถูกมอนิเตอร์น้อยกว่า บางทีโปสเตอร์งานต่าง ๆ ก็จะไม่บอกสถานที่ (Els: ใช่ ๆ ) ถ้าบนโปสเตอร์บอกว่า Ask the bands for the venue ส่วนใหญ่จะแปลว่า เขาไม่ได้รับใบอนุญาตในการจัดงานนั้น คุณจำเป็นจะต้องถามวงที่เล่นเองว่าต้องไปที่ไหน

JJ: สิ่งที่ Els บอกก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเรื่องการจัดงานก่อนหน้านี้เกี่ยวกับขั้นตอนมากมายก่อนจะจัดงานได้ มีความจริงอยู่มาก ๆ แต่ผู้จัดบางส่วนก็ไม่สนใจขั้นตอนเหล่านั้น เพราะว่าการขออนุญาตมักจะมี waiting list ที่ยาวกว่าจะได้รับการตอบกลับว่าผ่านการอนุมัติหรือไม่ บางคนก็เลยใช้วิธีแบบ DIY ไปเลย โดยใช้วิธีการชวนกันให้ซื้อบัตรเข้างานก่อนแล้วค่อยบอกว่าสถานที่จัดอยู่ที่ไหนหลังจากซื้อบัตรไปแล้ว จากนั้นทุกคนก็ไปที่งานแล้วถ้างานนั้นไม่มีตำรวจมาลงก็นับว่าเป็นโชว์ที่ดี ทุกคนแฮบปี้ แต่ก็มีเหตุการณ์ที่งานเสียงดังเกินไปแล้วมีคนไปร้องเรียนเรื่องเสียง ก็จะมีตำรวจโผล่มาสั่งปิดทุกอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เพราะว่าสิงคโปร์เป็นเมืองที่เล็กและแออัด การที่เราไปเล่นในดนตรีในที่พื้นที่อย่างออฟฟิสหรือแม้กระทั่งห้องแถว ก็มักจะมีคนอีกล้านคนมาร้องเรียนเรื่องเสียงถ้าคุณไปเล่นดนตรีในบริเวณที่ชุมชนแออัด ก็เลยทำให้เห็นได้ว่าสถานที่ที่มีความเป็นไปได้ในการจัดงานมักจะอยู่ตามออฟฟิสที่อยู่ในอาคารอุตสาหกรรมที่รกร้างนิดนึงซึ่งอาจมีการร้องเรียนเรื่องเสียงน้อยลง

Els: Secret show เหล่านี้ก็เลยถูกจัดขึ้นเพราะคุณไม่มีใบอนุญาต ฉะนั้นสถานที่ก็เลยไม่ถูกประกาศและไม่ใช่การจัดงานอย่างเป็นทางการ และสำหรับสถาน independant ต่าง ๆ หลาย ๆ ที่ รวม recording studio ที่เราไปอัดเพลงและซ้อมดนตรีก็เช่าพื้นที่ในอาคารอุตสาหกรรมโดยมีเพื่อนบ้านข้าง ๆ เป็นโรงงานผลิตเก้าอี้ มันเลยไม่ใช่พื้นที่สำหรับดนตรี เป็นพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม แต่เพราะว่าค่าเช่ามันถูกมาก ๆ และเราสามารถใช้เสียงได้ งานดนตรีก็เลยจะสามารถจัดได้ในที่แบบนี้ แฟนเพลงอินดี้ก็จะเดินทางกันมาสถานที่แปลก ๆ แบบนี้ (weird out of the blue places) เพื่อร่วมโชว์ พอพูดถึงเรื่องนี้กับงานดนตรีในสิงคโปร์ มันเลยสรุปได้ว่า มันจัดการยากและไม่ได้หากันง่าย ๆ ทั่วไป แต่ถ้าคุณอยากจะไปงานแบบนี้ก็ต้องใช้ความพยายามมาก ๆ และคุณก็จะไปที่สถานที่ที่เข้าถึงยากเหล่านี้ (in-accesible places) เพื่อไปดูวงโปรดของคุณเล่นโชว์สด ๆ

Death of Heather แสดงสดที่ Treble Cube สิงคโปร์

JJ: ถ้าเป็นวง cover โปเตโต้ อาจจะมีแฟนเพลงโปเตโต้มาบ้าง แต่ไม่แน่ใจว่าตลาดใหญ่พอไหม

Els: พอล มือเบสของเราเคยจัดงาน Tribute วง Muse แต่คนก็โผล่มาไม่มากเท่าไหร่ น่าจะต่ำว่า 100 คน

The COSMOS: ถ้าอย่างนั้นคุณคิดว่าเพลงอย่าง “เธอยัง” น่าจะเหมาะสำหรับการนั่งดื่มในผับบาร์หรือใน Siam Diu มากกว่า หรือเปล่า?

JJ: คิดว่าใช่ แต่คนที่ไป Siam Diu ก็ไม่น่าจะไปเพื่อฟังเพลง เธอยัง มันน่าจะเป็นผลพลอยได้มากกว่า อย่างในไทยเวลาคนไปสถานที่แบบ Siam Diu เขาไปเพื่อฟังเพลง หรือ ผู้หญิง?

The COSMOS: ไม่ได้ไปเพื่อฟังเพลงอย่างแน่นอน

JJ: คนที่ไป Siam Diu คงจะมีจุดประสงค์ที่จะไปเอนจอยบรรยากาศและหวังที่จะได้หิ้วสาวกลับบ้านมากกว่า เสียงเพลงเป็นแค่ส่วนที่สร้างบรรยากาศให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น และพวกเขาก็จดจำเพลงที่เปิดบ่อย ๆ จน เธอยัง กลายเป็นที่จดจำของสถานที่แบบนี้และสามารถร้องตามได้ ซึ่งมันเกิดขึ้นอย่าง organic และน่าจะมาจากวัฒนธรรมการเปิดเพลงของ Siam Diu

JJ: 20 กว่าที่? รึเปล่านะ Els?

Els: ฉันคิดว่ามีมากกว่า 20 เพราะว่าคุณสามารถเข้าไปตามห้างต่าง ๆ แล้วอาจจะมี Siam Diu 3-5 ร้านจริง ๆ นอกจากนั้นยังมีบางที่ที่ดูเหมือนบาร์ KTV บางทีก็แยกยากเหมือนกันว่าเป็น Siam Diu หรือเป็นบาร์ KTV กันแน่

The COSMOS: ถ้าเปรียบกับสถานที่ที่วงอินดี้สามารถไปเล่นได้ ถือว่าน้อยมาก ๆ

Els: มันเกี่ยวกับเรื่องการหาเงินเลย อะไรที่ทำเงินได้ก็อยู่รอด เพราะว่าร้านแบบนี้สามารถสร้างกำไรได้มากกว่าวงอินดี้ และวงอินดี้ก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต เมื่อคุณไป Siam Diu พวกเขาสามารถขายแอลกอฮอล์ได้เรื่อย ๆ ก็จะทำให้ธุรกิจแอลกอฮอล์เติบโต แต่ถ้าเปิด DIY Venue เพื่อจัดงานคุณจะไม่สามารถเปิดได้ทุกวันเพราะว่าคนไปโชว์เหล่านี้ก็เป็นคนเดิม ๆ

JJ: Siam Diu เองก็คงจะไม่เชิญวง local ไปเล่นด้วย เพราะถ้าชวนมาแล้วใครจะไป local show? มันไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ เขาไปเพื่อเที่ยวผู้หญิงและเพลงอินดี้ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ เพราะฉะนั้นวงเหล่านี้ก็ไม่ได้ช่วยทำเงินก็เลยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องชวนเขามาเล่น

Motifs แสดงสดที่งาน Baybeats 2022 ที่ The Esplanade สิงคโปร์

Els: เราพึ่งเริ่มเล่นสดเมื่อปีที่แล้ว ปลายปีที่แล้วช่วง 2 เดือนสุดท้าย เรามีเล่น 7 โชว์ ประมาน 1 โชว์ต่อสัปดาห์ ซึ่งก็เหนื่อยมาก ๆ สำหรับพวกเรา เพราะเราทุกคนมีงานประจำที่ต้องทำระหว่างวัน แต่มันเป็นงานโชว์ที่จะส่งต่อไปที่ทัวร์ของเรา ของปีนี้เราพึ่งมีไป 2 โชว์ และตอนนี้เราไม่ได้วางแผนที่จะเล่นโชว์มากขึ้นเพราะจะเริ่มกลับมาทำเพลง

JJ: ปีที่แล้วทั้งปีน่าจะเล่นไปประมาน 15-20 โชว์

Els: น่าจะ 20 โชว์แหละ ซึ่งมันถูกบีบอยู่ในช่วงครึ่งปีหลังทั้งหมด

JJ: ปีนี้คาดว่าจะเล่นแค่ 3 โชว์

Els: เราคิดว่า เราไม่สามารถที่จะพูดแทนทุกคนได้ คนที่ไปโชว์ของเราก็เป็นคนเดิม ๆ สังคมเพลงอินดี้มันเล็กมาก ๆ ถ้าเราเล่นมากขึ้นและเล่น setlist 30 นาทีแบบเดิมมันก็จะเริ่มน่าเบื่อ เพราะฉันเคยรู้สึกแบบนั้นตอนที่ไปดูวงอินดี้วงนึงที่ปัจจุบันนี้กำลังมา ตอนเริ่มต้นเล่นเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว เราจะไปดูงานของพวกเขาบ่อยมาก ๆ จนถึงจุดที่ฉันเริ่มเบื่อเพราะเราฟังแบบเดิม ๆ ตลอด แต่ฉันอาจจะไม่ใช่คนที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด

The COSMOS: เราเข้าใจคำตอบนี้ เพราะว่าปกติตัวเราเองก็คงจะไม่ออกไปดูโชว์ของศิลปินเดิมทุกสัปดาห์ แต่ถ้าคนที่ไปดูยังเป็นคนหน้าเดิม ๆ อย่างนี้แปลว่า community มันไม่เติบโตหรือเปล่า? แบบมันไม่ขยายไปหาผู้คนใหม่ ๆ เลย

JJ: มันก็กำลังเติบโตนะ แต่ไม่ได้เติบโตแบบก้าวกระโดด

Els: จริง ๆ มันเริ่มขยายแล้วแน่ ๆ อย่างงาน Baybeats เมื่อ 5 ปีที่แล้วกับในตอนนี้มีผู้ชมเพิ่มขึ้นเยอะมาก ๆ แต่เพราะว่าชุมชมเรามันเล็กมาก ๆ มันก็ไม่ได้มากขนาดนั้นเหมือนกัน

Baybeats 2023 @ The Esplanade, Singapore (Photo credit: @palesights_)

JJ: ผมรู้สึกมาเสมอว่า เรายังจำเป็นที่จะต้องมีไลฟ์เฮ้าส์ขนาดกลาง ๆ (mid size venue) ก้คิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะรอด แต่ไม่แน่ใจว่า talent pool ของศิลปินสิงคโปร์จะมีมากเพียงที่จะดึงคนมาได้ไหม ยกเว้น ว่าจะเชิญศิลปินจะต่างประเทศมา ถ้าคุณอยากได้ผู้ชมเข้าร่วมมาก ๆ ก็คงจะมีไม่กี่วงที่ทำได้

Els: และแม้ว่าจะดึงคนจำนวนนั้นมาได้ แต่คุณอาจไม่สามารถที่ดึงคนจำนวนนั้นกลับมาได้ในสัปดาห์ถัดไป

JJ: อาจจะต้องทำหลาย ๆ แนวนอกจากอินดี้ อย่าง แมนโดป๊อบ หรือ มี comedy show

The COSMOS: แปลว่าต้องมีการปรับตัวให้รองรับความบันเทิงในหลาย ๆ รูปแบบ

Els: แม้ว่าจะเป็นความบันเทิงในรูปแบบอื่น ก็ไม่แน่ใจว่าชาวสิงคโปร์จะไปเข้าร่วมหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ช่วงสุดสัปดาห์ คิดว่าน่าจะยาก เมื่อเปรียบเทียบวิถีชีวิตของคนไทยกับสิงคโปร์ คนไทยจะชิลล์มากกว่า เรารู้สึกว่าทุกคนผ่อนคลาย ไม่ได้เร่งรีบแบบในสิงคโปร์ เรากำลังรีบไปทำอะไรสักอย่างอยู่ตลอดเวลา ต้องทำงานตลอด มันยากมาก ๆ ที่ทุกคนจะผ่อนคลาย ทุกคนตึงเครียด แม้กระทั่งพวกเราเองเวลาที่นั่งอยู่เฉย ๆ ก็จะคิดรู้สึกว่า โอ้ ฉันควรจะทำงานนะ ฉันควรจะทำอะไรสักอย่าง คนไม่ค่อยที่จะเอนจอย ทุกคนต้องทำงาน make money la

JJ: อย่างพวกเราเอง ถ้าเราออกไปในคืนวันพุธเพื่อไปทำอะไรสักอย่าง เราก็จะรู้สึกว่า เห้ย เท่ว่ะ เรากำลังทำอะไรที่แปลกออกไป มันไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ

Els: ปกติทุกอย่างจะต้องเป็นกิจกรรมปลายสัปดาห์

The COSMOS: โอ้ ไม่มีแบบ เฮ้ทุกคนเย็นนี้เราไปกินเบียร์กันเถอะ

Els+JJ: ใช่ ไม่มี (พูดพร้อมกัน)
JJ: ต้องเป็นอะไรที่พิเศษมาก ๆ ที่จะทำให้เราออกไประหว่างสัปดาห์ได้ มันต้องผ่านการจัดแจงวางแผนกันมาแล้ว

สรุป

ดนตรีเป็นภาษาสากลที่สามารถเข้าถึงคนหมู่มากได้ แม้ภาษาต่างกันแต่ความรู้สึกของเพลงมันสามารถส่งต่อกันได้ ถึงแม้ว่าเพลงๆหนึ่งจะกลายเป็น meme ไม่ว่าจะเพราะเหตุผลใดก็ตาม มันก็มีข้อดีที่เกิดขึ้นซึ่งก็คือการเข้าถึงของตัวเพลงต่อคนหมู่มาก อาจจะเหมือนล้อเลียนให้ขำขัน แต่ culture การเป็น meme มันเป็นสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม ยิ่งมัน viral แล้วยิ่ง contain ไม่ได้

คำถามคือ แม้ตัวเพลงจะเป็น viral แต่ศิลปินดังตามหรือไม่ และอาชีพของคุณจะถูกจดจำในแบบไหน? และแม้เพลงจะมีศิลปินที่มีเพลงดังฮิตจนเป็น viral อย่าลืมว่ายังมีศิลปินอีกมากมายที่ยังคงต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการหาพื้นที่ให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะพื้นที่สื่อหรือการแสดงสด

สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างคือ ในแต่ละประเทศก็มีปัญหาในวงการดนตรีคนละแบบ แต่เรื่องเวทีขนาดย่อมที่มีให้ศิลปินเล็กๆได้เติบโตมันยังน้อยมากๆ แตกต่างจากพื้นที่ร้านเหล้าที่หาได้ง่ายอย่างกับร้านสะดวกซื้อ

+ posts

นานๆทีจะเขียน

Related Articles

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy