Enter Shikari กับภารกิจเซฟไลฟ์เฮ้าส์เล็ก ๆ ทั่วอังกฤษ “ถ้าปล่อยให้พวกเขาเจ๊งแล้ววงเฮดไลเนอร์รุ่นต่อไปจะมาจากไหน”

by McKee
578 views
Enter Shikari Save Livehouse article

“เราบริจาค £1 จากบัตรทุกใบให้ไลฟ์เฮ้าส์เล็ก ๆ ในอังกฤษ เพราะเราปล่อยให้พวกเขาเจ๊งไม่ได้”

Enter Shikari ก็เหมือนวงร็อกวงอื่น ๆ ในอังกฤษ ที่ไต่เต้ามาจากร้านเล็ก ๆ ที่มีคนดูไม่ถึง 10 คน ตะเวนทัวร์เล่นไปตามเมืองต่าง ๆ ที่มีไลฟ์เฮ้าส์เพื่อสะสมแฟนเพลง และลุกขึ้นมาทำทัวร์ต่างประเทศได้ จนถึงวันที่ยืนอยู่ท่ามกลางคนดูครึ่งหมื่น ด้วยวัฒนธรรมของซีนร็อกที่ไม่แมสเท่าซีนป๊อป พวกเขาก็ต้องทำงานกันหนักมากเพื่อได้รับการยอมรับจากแฟนเพลง

และตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการเดินทางของพวกเขาคือเวนิว ไนท์คลับ ไลฟ์เฮ้าส์ หรือร้านเล็ก ๆ ที่พาให้พวกเขาได้มาเจอกับแฟนเพลงที่แอบซ่อนอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ ต่อให้อัลบั้มของพวกเขาจะได้รางวัลมากมาย แต่ถ้าไม่มีพื้นที่ให้พวกเขาได้ปล่อยของ ได้ทำโชว์ในแบบของตัวเองแล้ว พวกเขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำดนตรีไปทำไม

ตอนนี้ เวนิลเหล่านี้ที่เคยซัพพอร์ตพวกเขามาตลอด ค่อย ๆ ล้มหายตายจากไปทีละแห่ง ทำให้เขาต้องออกมาทำอะไรซักอย่าง

Rou Reynolds (คนซ้ายล่าง) กับวง Enter Shikari
Cr: @ishashahphotography

Rou Reynolds ฟรอนต์แมนของ Enter Shikari ให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ถึงการเคลื่อนไหวเพื่อช่วยไลฟ์เฮ้าส์ที่เคยซัพพอร์ตพวกเขา “สิ่งที่เราทำมันง่ายมากเลย เราจะเก็บหนึ่งปอนด์จากบัตรทุกใบที่เรากำลังจะไปทัวร์ตามอารีน่าใหญ่ ๆ มาให้กับมูลนิธิ Music Venue Trust (MVT) เพื่อซัพพอร์ตเวนิลเล็ก ๆ ที่กำลังลำบาก”

‘Music Venue Trust’ คือองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือเวนิวทั่วอังกฤษ เริ่มก่อตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านกฎหมายการใช้เสียงที่สร้างปัญหาให้กับไลฟ์เฮ้าส์ทั้งหลาย โดยมีศิลปินมากมายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังให้คำปรึกษาเรื่องการสร้างเวนิวคอนเสิร์ตโดยเฉพาะทั้งในเชิงกฎหมายและเชิงธุรกิจ รวมไปถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการก่อสร้างและระบบเสียงที่ดีที่สุด แล้วยังเป็นตัวกลางที่เชื่อมดนตรีเข้ากับทุกส่วน ตั้งแต่ให้ทุนงานวิจัยเกี่ยวกับดนตรี รวมถึงให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายต่าง ๆ ในซีนดนตรีอีกด้วย แต่หน้าที่หลัก ๆ คือการรักษาให้เวนิวเล็ก ๆ ยังรันธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งพวกเขาทำงานกันอย่างหนักในช่วงโรคระบาดที่ผ่านมา

ในประเทศอังกฤษ มีเวนิลหรือไลฟ์เฮ้าส์กำลังปิดตัวลงหนึ่งแห่งทุกอาทิตย์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีฮอลล์ระดับหมื่นคนกำลังก่อสร้างอยู่ถึง 8 แห่ง ในระหว่างที่พวกเขากำลังลงทุนกับจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารในอุตสาหกรรมดนตรี แต่พวกเขากำลังปล่อยให้คนที่เหลือลงมาล้มหายตายจากไป แล้วเราจะเอาเฮดไลนเนอร์รุ่นต่อไปจะมาจากไหน ถ้าไม่เหลือไลฟ์เฮ้าส์เล็ก ๆ ให้ศิลปินรุ่นใหม่ได้พัฒนาฝีมือและสร้างฐานแฟนเพลง

ในฐานะผู้สนับสนุน MVT แล้ว Reynolds เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเวนิลเหล่านี้มาตลอด ทั้งโรคระบาดและค่าไฟที่พุ่งสูงขึ้นอย่างกับจรวด ยังไม่นับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก ช่วงก่อนหน้านี้ทำให้ซีนดนตรีอยู่ยากมาก ๆ โดยเฉพาะไลฟ์เฮ้าส์เล็ก ๆ ที่ลำบากอยู่แล้วก็ทำให้พวกเขาต้องเจอกับทางตันเร็วขึ้น Printworks ที่วงเคยไปถ่ายเอ็มวีก็เพิ่งปิดตัวไป ทุกที่ที่วงเคยไปเล่นล้วนต้องเผชิญหน้ากับความจริงที่น่าเจ็บปวดว่าพวกเขาสายป่านยาวไม่พอแล้วล้มหายตายจากไปช้า ๆ ก่อนที่พื้นที่เหล่านี้จะกลายเป็นคอนโดเต็มไปหมด

ทีม Music Venue Trust ที่สมาชิกเป็นคนในอุตสาหกรรมดนตรีทั้งหมด

Marquee ใน Hertford และ Square ใน Harlow ที่เคยจัดงานให้ Blur, Oasis และ Coldplay ตอนยังไม่ดังก็ปิดตัวลงไปแล้ว และเวนิวอีกหลาย ๆ ที่ที่เคยเป็นตำนานก็ปิดตัวลงไปหมดแล้วเหมือนกัน “พวกเราเล่นโชว์ครั้งแรกที่ The Pioneer Club และลานสเก็ตใน St Albans ซึ่งเป็นเวนิลไม่กี่ที่ที่อยู่มานานและยังรอดจากการถูกรื้อโดยนายทุน โชคดีที่มีเพื่อนและคนรุ่นใหม่ที่พยายามรักษาสถานที่แห่งนี้เอาไว้”

การมีที่แห่งนี้ไว้เพื่อเป็นโอกาสให้กับวงรุ่นใหม่ ๆ นั่นสำคัญมาก พวกเขาได้โชว์บนเวทีโดยที่ไม่ต้องรอโอกาสวิ่งมาหา หลังจากที่ได้ลองผิดลองถูกมาหลายครั้งจะทำให้วงมีความกล้าและประสบการณ์มากขึ้น ทำโชว์ให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ และการได้เล่นกับวงดนตรีอื่น ๆ ช่วยสร้างเครือข่ายมิตรภาพที่จะมาซัพพอร์ตกัน และค้นพบแนวดนตรีใหม่ ๆ ซึ่งจะกลายมาเป็นซาวด์ของวงต่อไป

“ไม่รู้จะต้องย้ำกี่ครั้งถึงความสำคัญของการมีเวนิวเล็ก ๆ ให้มากพอสำหรับวงการดนตรี”

แม้จะมีคอนเสิร์ตบนโลกออนไลน์มากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถทดแทนประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่ได้ยืนอยู่ท่ามกลางผู้คนโดยมีโชว์ที่มันโคตร ๆ อยู่ตรงหน้าได้ วงเองก็ได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมสถานที่ที่เคยให้โอกาสพวกเขาได้ขึ้นโชว์ครั้งแรกในฐานะคนดู และก็ต้องตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เห็นวงหน้าใหม่ ๆ ที่พวกเขาต้องชอบ สร้างซาวด์แบบใหม่ ๆ ออกมาเต็มไปหมด แถมวงพวกนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ Enter Shikari ได้อีกด้วย

เป็นเรื่องที่พวกเขาไม่เคยเข้าใจเลยว่า ทำไมเวนิลเล็ก ๆ พวกนี้ถึงไม่มีใครเข้ามาซัพพอร์ต เมื่อเราเสนอวิธีที่ต้องทำอะไรซักอย่าง คนก็มักจะบอกว่ามันยากเกินไป หรือไม่มีวงไหนอยากไปเล่นหรอก เราเลยตัดสินใจทำสิ่งที่เราอยากทำเพื่อให้ทุกคนเห็นว่ามันทำได้โว้ย แค่เราเก็บค่าบัตรทุกโชว์ในทัวร์ของเราให้ต่ำกว่า £40 (ประมาณ 1,718 บาท) และดึงเงินทุกยูโร่ไปจ่ายให้คนที่เคยให้โอกาสเรา โดยไม่ต้องผลักภาระให้แฟนเพลงจ่ายมากขึ้น

พวกเขาหวังแค่ว่าการทำแบบนี้จะกระตุ้นให้วงอื่นทำตามบ้าง แต่ยังไงความเชื่อเหลือก็ยังต้องมาจากเวนิวที่ใหญ่กว่าหรือจากภาครัฐ การซัพพอร์ตพื้นที่เล็ก ๆ คือบาร์ที่ต่ำที่สุดแล้วที่คุณทำได้ ลองนึกภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า ที่อารีน่าใหญ่ ๆ ถูกทิ้งร้างไว้เฉย ๆ โดยไม่มีโชว์ใหม่ ๆ มาเติม เพราะไม่มีเวนิวเล็ก ๆ เหลือให้ศิลปินรุ่นใหม่ได้พัฒนาฝีมือ ได้สร้างฐานแฟนจนพวกเขาไปเล่นฮอลล์ใหญ่ ๆ ได้

แม้แต่ในไทยเอง ถึงเราจะมีทั้ง Speakerbox, Decommune, Mr.FOX หรือ Jam และที่ใหม่ล่าสุดอย่าง Bluerpint Livehouse แต่ก็ยังไม่มากพอต่อความหลากหลายทางดนตรีที่มีอยู่ตอนนี้ได้เพียงพอ รวมถึงวัฒนธรรมการไปคอนเสิร์ตของคนไทยที่ไลน์อัพยังเป็นเรื่องหลัก และคนยังไม่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อไปเปิดรับอะไรใหม่ ๆ ก็อาจจะลากไปถึงรายได้ขั้นต่ำที่ไม่พอจะดำรงชีวิตด้วย

แต่ยังไงถ้ายังชอบฟังเพลง ก็ฝากตามไปดูทุกโชว์ของศิลปินที่เราชอบเท่าที่เราทำได้ เพราะการที่ศิลปินและไลฟ์เฮ้าส์จะอยู่ได้ ก็ต้องพึ่งคนดูอย่างเราเนี่ยแหละ หวังว่าการเมืองใหม่จะเปลี่ยนให้ไปบ้างเหมือนกัน แม้แต่ซีนดนต

+ posts

ชอบไปคอนเสิร์ตเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ และยังชอบแนะนำวงดนตรีใหม่ ๆ ผ่านตัวอักษรตลอดเวลา

Related Articles

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy